เพื่อนๆคงเคยได้ยินกันมาบ้าง เกี่ยวกับคำว่ากริยาแท้ และกริยาไม่แท้ เพราะบางครั้งในประโยคนั้นไม่ได้มีกริยาแค่ตัวเดียว ถ้าเกิดในประโยคนั้นมีกริยาอยู่ทั้งหมด 2 ตัว ตัวนึงจะอยู่ในบทบาทของกริยาแท้(finite verbs) และอีกตัวนึงจะอยู่ในบทบาทกริยาไม่แท้(non-finite verbs) นั่นเอง ซึ่งทั้งสองอย่างนี้เป็นอะไรที่หลายคนปวดหัวมาก ว่าจะแยกยังไง ตัวไหนเป็นกริยาแท้ หรือตัวไหนเป็นกริยาไม่แท้ วันนี้เราเลยนำวิธีดูว่า finite verbs และ non finite verbs ต่างกันอย่างไร มาฝากค่ะ
ความต่างกันของ finite verbs และ non-finite verbs
► กริยาแท้ finite verbs
1. สนใจประธาน เช่น ประธานเป็น I กริยาใช้เป็น am ถ้าประธานเป็น He ใช้กริยาเป็น is
หรือถ้าประธานเป็นเอกพจน์ กริยาจะต้องมีการเติม s, es นั่นเอง
2. สนใจรูปปัจจุบัน อดีต อนาคต เช่น จากปัจจุบันเป็นอดีต เช่น จาก is เป็น was หรือ
จาก have เป็น had หรือกริยาช่องสอง เติม ed เป็นต้น
► กริยาไม่แท้ non-finite verbs
จะไม่สนใจอะไรเลย ไม่มีการเปลี่ยนรูปใดๆทั้งน๊าน ไม่เปลี่ยนตามประธาน ไม่แสดงถึงกาลเวลา
คือไม่สนใจการแสดงว่าเป็นอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคตทั้งสิ้น!!!
ตัวอย่างการแยก finite verbs และ non-finite verbs
ตัวอย่างที่ 1
Emma likes to swim. = เอ็มม่าชอบการว่ายน้ำ
likes : กริยาแท้ = เปลี่ยนรูปตามประธาน เพราะประธานเป็นเอกพจน์ กริยา like จึงเติม s
swim : กริยาไม่แท้ = ไม่มีการเปลี่ยนรูปตามประธาน หรือแสดงอดีต ปัจจุบัน อนาคต
ตัวอย่างที่ 2
we are writing emails. = พวกเรากำลังเขียนอีเมล
are : กริยาแท้ = เปลี่ยนรูปตามประธาน เพราะประธานเป็น we ซึ่งเป็นพหูพจน์ กริยาจึงใช้ are
writing : กริยาไม่แท้ = ไม่มีการเปลี่ยนรูปตามประธาน หรือแสดงอดีต ปัจจุบัน อนาคต
* เป็นกริยาไม่แท้ชนิด participle (กริยาที่เติม - ing เพื่อทำหน้าที่ adjective)
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ชนิดของ non-finite verbs
เป็นยังไงบ้างคะ สำหรับการแยก finite verbs และ non-finite verbs นั้นไม่ยากเลยจริงๆใช่ไหมคะเพื่อนๆ